ผู้นำแห่งโมเมนตัมของคู่เงินในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ - เงินบาทปิดเดือนที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998 (2541)
ท่ามกลางการเทขาย USD ตลอดเดือนพฤศจิกายน เราได้เห็นเงินบาท (THB) กลายเป็นซูเปอร์สตาร์และเป็นแรงผลักดันในการเล่น FX ที่แท้จริง เราเห็นว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 7.4% เมื่อเทียบกับ USD ซึ่งบันทึกผลกำไรรายเดือนที่ดีที่สุด ตั้งแต่ปี 1998 – หากพิจารณาลงไป เราจะเห็นว่าเงินบาทเป็นสกุลเงินโลกที่มีผลประกอบการดีเป็นอันดับ 3 ในเดือนพฤศจิกายน โดยตามหลังแค่NZD และ KRW มาติดๆ
นักเทรดแบบเทคนิคมีความคิดเห็นว่าเงินบาทจะขยับลึกลงไปอีกถึง34
เมื่อดูที่การวิเคราะห์ทางเทคนิค หลังจากแตะ 38.5 ในวันที่ 20 ตุลาคม เราได้เห็นการกลับตัวของราคามากกว่า 50% ของการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคม – เราได้เห็นการเคลื่อนตัวแบบหมี หรือแนวโน้มขาลง ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่Moving Average (MA) 200 วัน (35.28) อย่างง่ายดายและยังไม่มีแนวรับใดๆในค่าเฉลี่ยแบบระยะยาว เห็นได้ชัดว่าแนวโน้มนี้เป็นเพื่อนชั้นดีของนักเทรดเลยทีเดียว เและการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วมักจะถูกใช้เพื่อเปิดออร์เดอร์shortใหม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างในเชิงบวกระหว่างราคาและตัวชี้วัดที่วัดความแข็งแกร่งของตลาด Relative Strength Index (RSI) แล้วนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดการมีแรงขายมากเกินไปตอบโต้ในทางตรงกันข้ามสำหรับเทรดเดอร์ที่จะใช้shortออร์เดอร์
อย่างไรก็ตาม สำหรับตอนนี้ เป้าหมายระยะกลางอยู่ที่ 34.0 และสามารถใช้คำสั่งหยุดและจำกัด(stop) เพื่อออกจากตำแหน่งshort ที่จุดตัดการเฉียงขึ้นบนเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล(EMA) 3 และ 8 วัน
ปัจจัยพื้นฐานทั่วไปนั้นยังหนุนว่าค่าเงินบาทจะยังแข็งตัวขึ้น
การอ่อนค่าของ USD อยู่เบื้องหลังแนวโน้มขาลง แต่ก็มีปัจจัยภายในประเทศที่ทำให้เทรดเดอร์ดึงดูดเงินบาท และปัจจัยพื้นฐานนี้มีความสำคัญ แม้ว่าเราจะเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยมีแนวโน้มสูงสุดที่ 6% แต่เราก็คิดว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลงเร็วขึ้นในปี 2566 และที่สำคัญการเติบโตแบบสัมพัทธ์เป็นปัจจัยหนุนค่าเงินบาท โดย GDP ไตรมาสที่ 3 ของไทยดำเนินไปอย่างน่าสนใจที่ 4.5% YoY และก้าวเร็วที่สุดในรอบกว่า 12 เดือน – ภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นคืนชีพซึ่งสนับสนุนการเติบโตอย่างชัดเจน โดยคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นจาก 9.5 ล้านคนในปี 2565 เป็น 21 ล้านคนในปี 2566
ในโลกที่การเติบโตกำลังชะลอตัวและในบางกรณีอาจมีภาวะเศรษฐกิจถดถอย ประเทศไทยจึงดูเหมือนเป็นจุดที่ห่างไกลและยังสดใสสำหรับปี 2566
เรายังสามารถมองจากภายนอกและเห็นความรู้สึกที่ดีขึ้นต่อโอกาสทางเศรษฐกิจของจีน – จริงอยู่ที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดทั่วประเทศยังคงเพิ่มขึ้น แต่เราเห็นขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นเพื่อผ่อนคลายข้อจำกัดการแพร่ระบาดและการตั้งเป้าที่จะเปิดประเทศทั้งหมดภายในไตรมาสที่ 2223 – จีนจะชะลอการเจริญเติบโตใน 1H23 แต่น่าจะเร่งตัวขึ้นใน 2H23 และหากการวิเคราะห์นี้ถูกต้อง น่าจะช่วยสนับสนุนเงินบาทและมีผลทำให้เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขึ้น
การตั้งค่าอัตราดอกเบี้ยขัดต่อเงินบาท
จากมุมมองของอัตราดอกเบี้ย เราเห็นว่าแบงก์ชาติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75จุดพื้นฐาน (หรือ 0.75%) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน แม้ว่าจะอยู่ที่ 1.25% ก็ตาม การกำหนดนโยบายปัจจุบันนี้ไม่มีนัยสำคัญต่อนโยบายของFed หากเรามองไปข้างหน้าถึงอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ความคาดหวัง เรารู้สึกว่าความเสี่ยงคือการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธปท.เป็น 2.5% ภายในไตรมาส 3/66 ในขณะที่เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฟดเป็น 5% ภายในไตรมาส/2666 เมื่อพิจารณาจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยและระบอบการถือครองเชิงลบนี้ เทรดเดอร์จะจ่ายค่าสวอปในออร์เดอร์ long ของ THB – ตามมาด้วย THB คือสิ่งที่เทรดเดอร์จะต้องรู้สึกมั่นใจว่าการแข็งค่าของเงินทุนจะมากกว่าต้นทุนสวอปในการถือครองเงินบาทไว้
หันมาสนใจ เพิ่ม USDTHB ไว้อยู่ในเรดาร์
ด้วยการเปลี่ยนแปลงการเติบโตที่น่าสนใจ เงินบาทจึงเป็นสกุลเงินที่จับตาดูในปี 2566 เช่นเดียวกับสกุลเงินอื่นในตลาดเกิดใหม่ สเปรดการซื้ออาจกว้างกว่า EURUSD หรือ USDJPY แต่ผลที่ได้ชดเชยคือการเคลื่อนไหวที่อาจเกิดขึ้น – ศักยภาพในการย้าย 2% ใน USDTHB นั้นมีมากกว่าคู่ G10 อย่างชัดเจน
แน่นอนว่าสภาพคล่องมีบทบาทสำคัญในที่นี้ แต่สิ่งนี้สามารถส่งผลทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อเทรดเดอร์ – ดังที่เราได้เห็นตั้งแต่เดือนตุลาคม หากเปิดสถานะ Short และเปิดสถานะ Long THB ถือว่าทำงานได้ดีท่ามกลางการเคลื่อนไหวที่น่าทึ่ง
ตามธรรมชาติแล้ว เราก็คงยังสงสัยถึงความเป็นไปได้ที่ USDจะกลับตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อราคาเปิดเผยเมื่อไหร่นั่นคือจุดที่เทรดเดอร์จะต้องตอบสนอง แต่รู้สึกว่าเส้นทางที่มีแนวต้านน้อยที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปคือสำหรับระดับที่ต่ำกว่า